เมนู

ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างใน
การยืนและการเทา ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูก
โล่ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัด
หลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้น ถูก
ควาญช้างให้ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อน
ไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่
เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู. ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่
เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร
และเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์
สังข์ และกลองเล็ก กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความ
นับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติ
ของพระราชา ฉันใด.

ว่าด้วยพระพุทธคุณ


[396] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติใน
โลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
ดำเป็นไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยีงกว่ามิได้
เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้คนแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคต
นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม
ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดง
ธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ
ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดี
ก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นพึงแล้ว

ย่อมได้ความเธอในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึง
พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่อง
ว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วน
เดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัย
ต่อมา เขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอัน
ว่างแล้ว ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง
5 อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจง
เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จง
เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ดูก่อนอัคคิเวสสนะ. ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งในรูปว่า ดูก่อน
ภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุ
แล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ1 เธอครั้นละนิวรณ์ 5 ประการ อันเป็น
เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้พิจารณา
เห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน
โลกเสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...ย่อมเป็นผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิต... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว
1. เหมือนข้อ 95 ถึงข้อ 99

[397] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่
ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความ
ดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ
เร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิง
ในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้น เหมือนกันแล
สติปัฏฐาน 4 นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติ ชนิด
อาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย
ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ
ท่านิพพานให้แจ้ง.

ว่าด้วยจตุสติปัฏฐานเป็นต้น


[398] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด
เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับ
เวทนา จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต
จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม
เธอยู่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิ
อยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปิติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย
นามกาย เข้าตติยฌาน... ย่อมเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ
ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.
[399] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความ